พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
เข้าสู่ระบบ
หน้าแรก
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ค้นหาข้อมูล
เข้าสู่ระบบ
พระกริ่งวัดตรีท...
พระกริ่งวัดตรีทศเทพ องค์ที่1
ชื่อรุ่น พระกริ่งพิมพ์พระประธาน พ.ศ.๒๔๙๑ (พระกริ่งวัดตรีทศเทพ)
ผู้สร้าง สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์)
สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ปีที่สร้าง ประกอบพิธีเทอทงเป็น ๒ วาระ คือ
วาระที่ ๑ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๑ เททองเวลา ๑๖.๐๕ น.
วาระที่ ๒ วันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ เททองเวลา ๑๐.๒๗ น.
ทั้งสองวาระประกอบพิธีเททองหน้าพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
จำนวน มิได้มีบันทึกจำนวนการสร้าง แต่สันนิษฐานว่าไม่เกิน ๕,๐๐๐ องค์
การบรรจุเม็ดกริ่ง เป็นพระกริ่งชนิดเทตัน แล้วจึงนำมาเจาะใต้ฐาน(ก้น) รูขนาดประมาณแท่งดินสอ บรรจุเม็ดกริ่งแล้วอุดกริ่งด้วยทองชนวนเดียวกันกับองค์พระ ทำการแต่งตะใบเรียบร้อยแล้ว แทบจะมองไม่เห็นรูบรรจุเม็ดกริ่ง ใต้ฐานเรียบไม่มีการปาดใต้ฐาน
วรรณะ(เนื้อ) เหลืองปนขาวเล็กน้อยไม่กลับดำ
มูลเหตุในการจัดสร้าง วัตถุมงคลที่ได้จัดสร้างในครั้งนี้ประกอบด้วย พระกริ่งพิมพ์พระประธาน, เหรียญเสมา และพระกริ่งแบบบาเก็ง พ.ศ.๒๔๙๑ เพื่อมอบให้เป็นที่ระลึกกับผู้ที่ร่วมบริจาคสมทบทุนในงาน ผูกพัทธสีมาวัดตรีทศเทพ ดังจะคัดลอกข้อความบางตอนจากหนังสือตำนานวัดบวรนิเวศวิหารดังนี้
วัดตรีทศเทพ สร้างตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ และกรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร ทรงสร้างโดยพระบรมราชานุมัตแห่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงพระราชทานนามว่า วัดตรีทศเทพ แต่ทั้งสองพระองค์นี้ได้สิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงสร้างสืบต่อมา และมีผู้ศรัทธาปสาทะบริจาคปฏิสังขรณ์เป็นคราวๆ มากบ้างน้อยบ้าง จนถึง พ.ศ.๒๔๙๑ ราว ๘๐ ปีแต่ยังไม่ได้ผูกพัทสีมา คงใช้คูน้ำรอบวัดเป็นเขตวิสุงคามสีมา ไม่สะดวกแก่การทำสังฆกรรมของสงฆ์ สมเด็จพระสังฆราชจึงมีพระบัญชาให้จัดการผูกพัทธสีมา เพื่อสะดวกในการทำสังฆกรรมทั้งปวง
ในการนี้ สมเด็จพระสังฆราช โปรดให้หล่อ พระกริ่งพระประธาน สำหรับผูกพัทธสีมาวัดตรีทศเทพ ที่บริเวณพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๑ เวลาเททอง ๑๖.๐๕ น. และเมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๑ เวลาเททอง ๑๐.๒๗ น. พระกริ่งที่หล่อนี้องค์พระแบบพระประธานในโบสถ์ปางมารวิชัยทั่วไป มีครอบน้ำมนต์ในพระหัตถ์ซ้าย “จึงเรียกพระกริ่งพระประธาน” ฐานมีบัวด้านหน้า ๙ กลีบ ด้านหลังมีบัว ๒ กลีบ หน้าตักกว้าง ๑.๖ ซ.ม. สูงทั้งฐาน ๓.๒ ซ.ม. และหล่อพระกริ่งแบบบาเก็งอีกแบบหนึ่ง หน้าตักกว้าง ๑.๕ ซ.ม.สูงทั้งฐาน ๓.๕ ซ.ม.
พัทธสีมาวัดตรีทศเทพนี้ ได้ประกอบพิธีผูกเมื่อวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๒ เวลา ๑๐.๓๐ น. แต่ได้เริ่มงานตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ในพระอุปถัมภ์ของ สมเด็จพระสังฆราช พระกริ่งที่หล่อขึ้นแล้ว และเหรียญที่ทำเพื่องานนั้น โปรดให้ประกอบพิธีสวดมนต์บริกรรมที่ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๒ เวลา ๒๐.๐๐ น. เศษ ซึ่งเป็นวันเริ่มงานผูกพัทธสีมาวัดตรีทศเทพ
พระกริ่งพิมพ์พระประธาน พ.ศ.๒๔๙๑ นี้ ในส่วนของนักอนุรักษ์สะสมพระเครื่องจะรู้จักในนามของ พระกริ่งวัดตรีทศเทพ นั้นเอง จุดแตกต่างกับ พระกริ่ง ๗ รอบ พ.ศ.๒๔๙๙ ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ กับพระกริ่งพิมพ์พระประธานที่เด่นชัดคือ พระกริ่งพิมพ์พระประธาน จะมีครอบน้ำมนต์ในพระหัตถ์ซ้าย และด้านหลังจะเป็นบัวคู่ ส่วนของพระกริ่ง ๗ รอบ จะไม่มีครอบน้ำมนต์และด้านหลังบริเวณบัวคู่ด้านล่างจะปรากฏเป็นเลข ๗ ไทย (ตัวจม)
นับเป็นพระกริ่งอีกรุ่นหนึ่งที่น่าสะสมแสวงหาไว้บูชา เพราะพิธีกรรมต่างๆในการจัดสร้างดีมาก เจตนารมณ์ตรงกับความต้องการของ สมเด็จพระสังฆราช
ผู้เข้าชม
5390 ครั้ง
ราคา
-
สถานะ
เปิดให้บูชา
โดย
makara995
ชื่อร้าน
มะกะระ พระกรุ
ร้านค้า
makara.99wat.com
โทรศัพท์
0813116011
ไอดีไลน์
0818306399
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
244-0-006xx-x
พระแผงกรุวัดกระซ้าย มารวิชัย พ
พระพุทโธแม่ชีบุญเรือน โตงบุญเต
พระร่วงยืนหลังลายผ้า มีซ่อม ลพ
พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ พร้อมใบอ
พระร่วงเปิดโลก กรุเตาทุเรียง ส
พระท่ากระดานหูช้าง กรุวัดเทวสั
พระนางแขนอ่อน ชินเงิน สุโขทัย-
พระสมเด็จ ลป-ภู พิมพ์เจดีย์พิม
พระวัดรังษีสุทธาวาส พิมพ์กลาง
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
ลงพระฟรี
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ลืมรหัสผ่าน
ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
นรินทร์ ทัพไทย
Erawan
โก้ สมุทรปราการ
หมอเสกโคราช
kaew กจ.
เปียโน
หริด์ เก้าแสน
นานา
อ้วนโนนสูง
ภูมิ IR
Beerchang พระเครื่อง
varavet
เจนพระเครือง
โกหมู
Le29Amulet
KoonThong_Amulets
เจริญสุข
termboon
ยิ้มสยาม573
someman
Paphon07
พีพีพระเครื่อง
chathanumaan
Achi
somphop
อี๋ ล็อคเกต
fuchoo18
บี บุรีรัมย์
Chobdoysata
chaithawat
ผู้เข้าชมขณะนี้ 1100 คน
เพิ่มข้อมูล
พระกริ่งวัดตรีทศเทพ องค์ที่1
ส่งข้อความ
ชื่อพระเครื่อง
พระกริ่งวัดตรีทศเทพ องค์ที่1
รายละเอียด
ชื่อรุ่น พระกริ่งพิมพ์พระประธาน พ.ศ.๒๔๙๑ (พระกริ่งวัดตรีทศเทพ)
ผู้สร้าง สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์)
สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ปีที่สร้าง ประกอบพิธีเทอทงเป็น ๒ วาระ คือ
วาระที่ ๑ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๑ เททองเวลา ๑๖.๐๕ น.
วาระที่ ๒ วันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ เททองเวลา ๑๐.๒๗ น.
ทั้งสองวาระประกอบพิธีเททองหน้าพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
จำนวน มิได้มีบันทึกจำนวนการสร้าง แต่สันนิษฐานว่าไม่เกิน ๕,๐๐๐ องค์
การบรรจุเม็ดกริ่ง เป็นพระกริ่งชนิดเทตัน แล้วจึงนำมาเจาะใต้ฐาน(ก้น) รูขนาดประมาณแท่งดินสอ บรรจุเม็ดกริ่งแล้วอุดกริ่งด้วยทองชนวนเดียวกันกับองค์พระ ทำการแต่งตะใบเรียบร้อยแล้ว แทบจะมองไม่เห็นรูบรรจุเม็ดกริ่ง ใต้ฐานเรียบไม่มีการปาดใต้ฐาน
วรรณะ(เนื้อ) เหลืองปนขาวเล็กน้อยไม่กลับดำ
มูลเหตุในการจัดสร้าง วัตถุมงคลที่ได้จัดสร้างในครั้งนี้ประกอบด้วย พระกริ่งพิมพ์พระประธาน, เหรียญเสมา และพระกริ่งแบบบาเก็ง พ.ศ.๒๔๙๑ เพื่อมอบให้เป็นที่ระลึกกับผู้ที่ร่วมบริจาคสมทบทุนในงาน ผูกพัทธสีมาวัดตรีทศเทพ ดังจะคัดลอกข้อความบางตอนจากหนังสือตำนานวัดบวรนิเวศวิหารดังนี้
วัดตรีทศเทพ สร้างตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ และกรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร ทรงสร้างโดยพระบรมราชานุมัตแห่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงพระราชทานนามว่า วัดตรีทศเทพ แต่ทั้งสองพระองค์นี้ได้สิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงสร้างสืบต่อมา และมีผู้ศรัทธาปสาทะบริจาคปฏิสังขรณ์เป็นคราวๆ มากบ้างน้อยบ้าง จนถึง พ.ศ.๒๔๙๑ ราว ๘๐ ปีแต่ยังไม่ได้ผูกพัทสีมา คงใช้คูน้ำรอบวัดเป็นเขตวิสุงคามสีมา ไม่สะดวกแก่การทำสังฆกรรมของสงฆ์ สมเด็จพระสังฆราชจึงมีพระบัญชาให้จัดการผูกพัทธสีมา เพื่อสะดวกในการทำสังฆกรรมทั้งปวง
ในการนี้ สมเด็จพระสังฆราช โปรดให้หล่อ พระกริ่งพระประธาน สำหรับผูกพัทธสีมาวัดตรีทศเทพ ที่บริเวณพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๑ เวลาเททอง ๑๖.๐๕ น. และเมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๑ เวลาเททอง ๑๐.๒๗ น. พระกริ่งที่หล่อนี้องค์พระแบบพระประธานในโบสถ์ปางมารวิชัยทั่วไป มีครอบน้ำมนต์ในพระหัตถ์ซ้าย “จึงเรียกพระกริ่งพระประธาน” ฐานมีบัวด้านหน้า ๙ กลีบ ด้านหลังมีบัว ๒ กลีบ หน้าตักกว้าง ๑.๖ ซ.ม. สูงทั้งฐาน ๓.๒ ซ.ม. และหล่อพระกริ่งแบบบาเก็งอีกแบบหนึ่ง หน้าตักกว้าง ๑.๕ ซ.ม.สูงทั้งฐาน ๓.๕ ซ.ม.
พัทธสีมาวัดตรีทศเทพนี้ ได้ประกอบพิธีผูกเมื่อวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๒ เวลา ๑๐.๓๐ น. แต่ได้เริ่มงานตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ในพระอุปถัมภ์ของ สมเด็จพระสังฆราช พระกริ่งที่หล่อขึ้นแล้ว และเหรียญที่ทำเพื่องานนั้น โปรดให้ประกอบพิธีสวดมนต์บริกรรมที่ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๒ เวลา ๒๐.๐๐ น. เศษ ซึ่งเป็นวันเริ่มงานผูกพัทธสีมาวัดตรีทศเทพ
พระกริ่งพิมพ์พระประธาน พ.ศ.๒๔๙๑ นี้ ในส่วนของนักอนุรักษ์สะสมพระเครื่องจะรู้จักในนามของ พระกริ่งวัดตรีทศเทพ นั้นเอง จุดแตกต่างกับ พระกริ่ง ๗ รอบ พ.ศ.๒๔๙๙ ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ กับพระกริ่งพิมพ์พระประธานที่เด่นชัดคือ พระกริ่งพิมพ์พระประธาน จะมีครอบน้ำมนต์ในพระหัตถ์ซ้าย และด้านหลังจะเป็นบัวคู่ ส่วนของพระกริ่ง ๗ รอบ จะไม่มีครอบน้ำมนต์และด้านหลังบริเวณบัวคู่ด้านล่างจะปรากฏเป็นเลข ๗ ไทย (ตัวจม)
นับเป็นพระกริ่งอีกรุ่นหนึ่งที่น่าสะสมแสวงหาไว้บูชา เพราะพิธีกรรมต่างๆในการจัดสร้างดีมาก เจตนารมณ์ตรงกับความต้องการของ สมเด็จพระสังฆราช
ราคาปัจจุบัน
-
จำนวนผู้เข้าชม
5469 ครั้ง
สถานะ
เปิดให้บูชา
โดย
makara995
ชื่อร้าน
มะกะระ พระกรุ
URL
http://www.makara.99wat.com
เบอร์โทรศัพท์
0813116011
ID LINE
0818306399
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงเทพ / 244-0-006xx-x
กำลังโหลดข้อมูล
หน้าแรกลงพระฟรี